ส่วนเงินเหรียญของไอซ์แลนด์มีด้วยด้วยกันหลายขนาด และหลายราคา เริ่มตั้ง 1 โครน 5 ,10 , 50, และ 100 โครน โดยจะมีสองสีคือสีทองแดง กับสีขาวเงิน แต่ที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังก็คือรูปลักษณ์พร้อมกับเรื่องราวที่จะนำมาบอกเล่า โดยรูปในเหรียญที่จำแนกได้เป็น ๒ ลักษณะคือ รูปด้านหนึ่งจะเป็นรูปของเทพผู้รักษาตามความเชื่อของชาวไอซ์แลนด์ที่มีรูปวัว นกอินทรีย์ ยักษ์ และมังกร ในความหมายของเทพเหล่านี้ชาวไอซ์แลนด์ถือว่าเป็นเทพผู้ปกปักษ์รักษาประจำทิศต่าง ๆ กับอีกด้านของเหรียญทุกชนิดเป็นสัตว์ทะเล เป็นปูและปลา ในความเข้าใจอาจหมายถึงเป็นสัตว์เศรษฐกิจของไอซ์แลนด์ เพราะรายได้หลักประมาณ 70 เปอร์เซ็นของไอซ์แลนด์ได้มาจากการส่งปลาเป็นสินค้าออก
โดยเหรียญแรกเป็นเหรียญ 100 โครนจะเป็นรูปปลา ลัมป์ฟิช (Lumpfish or Lumpsuckers) ซึ่งเป็นกลุ่มตระกูลของปลาที่อยู่ในสายพันธ์ตระกูล Cyclopteridae. เป็นปลาที่มีถิ่นที่อยู่ทางในบริเวณน้ำเย็นในมหาสมุทร Arctic, North Atlantic, โดยจะพบจำนวนมากทาง North Pacific โดยเจ้าปลาชนิดนี้ไข่ของมันนิยมนำมาแปรรูปเป็นไขปลาคาเวีย (caviar) อาหารระดับเหลาที่คนมีกะตังทั่วโลกปรารถนาได้ลิ้มรองรวมทั้งประเทศไทยของเราด้วย
ปลาแบนที่ปรากฏอยู่บนเหรียญ 100 โครน
เหรียญต่อมาเป็นเหรียญ 50 โครนด้านหนึ่งก็ยังคงเป็นรูปของเทพผู้รักษาทิศทั้งสี่เหมือนเดิมแต่อีกด้านจะเป็นรูปปู Shore Crab ส่วนจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจด้วยหรือไม่ก็คงต้องหาข้อมูลต่อไป แต่เท่าที่ปรากฏจะเห็นว่าในเหรียญทุกชนิดทุกขนาดส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์ทะเล ซึ่งหมายถึงว่าด้วยภูมิศาสตร์ของไอซ์แลน์เป็นหมู่เกาะล้อมรอบด้วยทะเล ปัจจัยยังชีพหลักจึงย่อมเป็นอาหารจากทะเล สัตว์ทุกชนิดที่สามารถหามาได้จึงเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวไอซ์แลนด์ นอกจากนี้สิ่งที่จะเห็นได้ชัดอีกอย่างหนึ่งก็คือความเชื่อ การเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประหนึ่งการเชื่อต่อเทพเทพาอารักษ์มีความสำคัญต่อวิถีชีวิต อาจจะเป็นด้วยประเทศอยู่กับธรรมชาติ ที่หนาว ลม ภูเขาไฟ จึงมีความหมายต่อการดำเนินชีวิต เทพผู้ปกปักษ์ที่ปรากฏบนเหรียญจึงน่าจะสะท้อนเกี่ยวกับโลกทัศน์ของชาวไอซ์แลนด์ในอดีตได้ในระดับหนึ่ง ว่านั่นคือที่พึ่ง คือความหวังของชาวไอซ์แลนด์ได้
ในส่วนเหรียญห้าสิบด้านหนึ่งเป็นปู ซึ่งผู้เขียนคิดว่าน่าจะเป็นปูที่มีอยู่ในท้องน้ำแถบไอซ์แลนด์ (สันนิษฐานเฉยๆ) ปูจึงเป็นสิ่งที่มาปรากฏบนเหรียญ 50 โครนอย่างมีความหมาย โดยรูปลักษณ์ก็ขนาดเล็กลงกว่าเหรียญ 100 โครน มีลักษณ์สีเหมือนเหรียญ 100 โครน ต่างกันตรงมูลค่า
เหรียญ 10 โครน เป็นเหรียญที่ถูกผลิตขึ้นมาใช้ในปี 1984 มีความกว้าง 27.5 มิลลิเมตร หน้า 1.78 มิลลิเมตร หนักประมาณ 8 กรัม เป็นเนื้อเงินผสมทองแดง ภาพด้านหนึ่งเป็นรูปปลา 4 ตัว คนไอซ์แลนด์เรียกปลาเหล่านี้ว่าปลาอีซ่า แต่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่าปลาคาพีลิน ถ้าในภาษาไทยเรียกว่าปลาไข่ โดยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mallotus villosus ซึ่งเป็นปลาที่มีขนาดไม่ใหญ่ และมีถิ่นอาศัยอยู่ในบริเวณขั้วโลกเหนือ บริเวณ Atlantic และ Arctic เช่น บริเวณเกาะกรีนแลนด์ และประเทศไอซ์แลนด์ เป็นปลาที่มีขนาดเล็กที่มีความสูงสุดสุดประมาณที่ 20-25 เซ็นติเมตร กินเพลงตอน และสัตว์เล็กตามบริเวณขอบของน้ำแข็งเป็นอาหาร โดยปลาไข่ที่ว่านี้จะนิยมเอามาทำเป็นน้ำมันตับปลาในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งมีคุณค่าทางอาหารสูง หรือไม่ก็เป็นเหยือตกปลาอีกทอดหนึ่ง โดยสรุปก็คือเจ้าปลาชนิดนี้มีอยู่ในแถวบริเวณไอซ์แลนด์ และถูกนำไปแปรรูปไม่ว่าจะเป็นน้ำมันตับปลา ไข่ปลาชนิดนี้ก็ถูกนำไปเป็นแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากไขปลาเช่นเดียวกับปลาคอด (Cod) ที่ปรากฏอยู่ในเหรียญ 1 โครน และปลานี้คาพีลินนี้ก็มักจะเป็นอาหารของปลาคอด ในรัสเซียและนอรเวย์ ชาวประมงมักเลี้ยงปลานี้ไว้ทดแทนซึ่งกันและกัน
เหรียญ 5 ผลิตขึ้นมาใช้เมื่อปี 1981 ความกว้างเส้นผ้าศุนย์กลาง 24.5 มิลลิเมตร น้ำหนัก 6.5 กรัม ทำด้วยเงินผสม ก็คงรูปลักษณ์ไว้ไม่แตกต่างจากเหรียญอื่นที่ด้านหนึ่งมีเทพเจ้าทั้ง 4 หรือเทพผู้ปกปักษ์ทั้ง เบียดกันอยู่ในตรงนั้น แต่ในอีกด้านหนึ่งก็เป็นภาพของปลาโลมาคู่ 2 ตัวที่ปรากฏในอีกด้านหนึ่งของเหรียญชนิดนี้ เหรียญ 5 โครน ได้มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุที่ใช้ผลิต มีการผสมเงิน ทองแดง และเหล็ก ซึ่งมีผลให้มีสีสันมากขึ้น และน้ำนักที่เบาลงเป็น 5.6 กรัม ส่วนปลาโลมาที่ปรากฏในเหรียญก็เป็นปลาที่มีอยู่ในน่านน้ำบริเวณไอซ์แลนด์ แต่โดยปกติปลาโลมาก็จะมีอยู่ในนานน้ำทั่วไป
เหรียญ 1 โครน ผลิตใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1981 มีขนาดความกว้างจากเส้นผ่าศูนย์กลาง 21.5 มิลลิเมตร และมีน้ำหนัก 4.5 กรัม ผลิตจากเงินผสม ขอบเรียบ รูปด้านหนึ่งเป็นรูปของยักษ์ 1 ใน 4 ของเทพผู้ปกปักษ์รักษาของไอซ์แลนด์ ซึ่งตรงนี้ก็ยังไม่เข้าใจว่าพระเอกทั้ง 4 ที่เคยอยู่ร่วมกันมาตั้งแต่เหรียญ 100 เหรียญ 50 เหรียญ 10 จนกระทั่งเหรียญ 5 ก็ยังอยู่กันครบ 4 ตน แต่ทำไมมาเหลือแค่ยักษ์อย่างเดียวในเหรียญ 1 โครน หรือจะเป็นเพราะด้วยพื้นที่เหลือน้อย เลยต้องสละให้ยักษ์มาเป็นพระเอกอยู่คนเดียวก็ไม่ทราบได้ ทราบก็หาข้อมูลมาเล่าสู่กันฟัง แต่สำหรับเทพผู้ปกปักษ์ที่เหลือก็ไปปรากฎในเหรียญ 50 10 และ 5 Aurar ซึ่งเป็นหน่วยเงินที่น้อยกว่าโครน สำหรับอีกด้านหนึ่งเป็นปลา Cod ที่มีชื่อสามัญว่า The Genus Gadus of Fish เป็นปลาตระกูลเดียวกับ Gddidae เป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกตัวหนึ่งของชาวไอซ์แลนด์เขา ตับปลาคอดถูกนำไปผลิตน้ำมันตับปลาสินค้าขึ้นชื่อของไอซ์แลนด์ ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยคุณค่าทางอาหาร วิตามินดี วิตามินเอ ปลาชนิดนี้เนื้อจะเป็นลิ่มสีขาว เป็นที่นิยมเพราะไม่คาว และมีไขมันต่ำ
ปลาคอด
ปลาเป็นสัญลักษณ์ทางเศรษฐกิจของไอซ์แลนด์ ในฐานะเป็นสัตว์เศรษฐกิจจึงได้รับการยกย่องให้มาว่ายอยู่ในเหรียญ ถูกนำมาเป็นเครื่องแลกเปลี่ยนตามระบบเศรษฐกิจเงินตรา อันนี้เป็นการให้ข้อมูลในเชิงความรู้เกี่ยวกับเหรียญในมือของท่านไม่เกี่ยวกับ ค่าเงินมากหรือน้อย ส่วนเหรียญชนิดอื่น ๆ ก็มีอยู่ในระบบการเงินของไอซ์แลนด์ แต่ไม่เคยเห็นใช้อยู่ในระบบการเงิน อาจจะด้วยเหตุผลว่าค่าเงินน้อยเกินกว่าที่จะนำมาใช้ เหมือนเหรียญสลึง ของประเทศไทยเรา ที่เห็นด้านล่างก็เป็นเหรียญ 50 10 5 Eurar ซึ่งมีมูลค่าน้อยกว่า 1 โครน