เที่ยวไอซ์แลนด์ เรื่องเล่าจากธนบัตรและเงินเหรียญ
หน่วยนับเงินของประเทศไอซ์แลนด์ คือ โครน ภาษาไอซ์แลนด์ออกเสียงว่าโครนเน่อ (krónur) ธนบัตรและเงินเหรียญของไอซ์แลนด์เท่าที่เห็นในปัจจุบันก็มีหลายอย่างด้วยกัน จะได้นำมาเล่าเพื่อเป็นความรู้เกี่ยวกับเงินทอง ๆ ที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน หรือในอีกความหมายหนึ่งก็จะได้รู้ว่าเงินที่เราใช้ผ่านมือในแต่ละวันมีความหมายอย่างไร เกี่ยวกับรูปภาพที่ปรากฏ รวมทั้งในฐานะผู้อยู่อาศัยจะได้มีความรู้เพิ่มเติมในสภาพแวดล้อมตัวเรา
เงินไอซ์แลนด์เท่าที่ปรากฏผ่านสายตาในปัจจุบัน มีธนบัตรอยู่ 4 ชนิดด้วยกันคือ ใบละ 5000 ,2000, 1000 และธนบัตรใบละ 500 โครน
ส่วนเหรียญก็มีหลายชนิด คือ เหรียญละ 100, 50,10, 5 และ 1 โครน โดยมีเหรียญที่เป็นสีทอง และสีเงิน
การพิมพ์ธนบัตรของไอซ์แลนด์เกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ.1885 เมื่อมีการก่อตั้งธนาคารแห่งชาติ แล้วก็มีการพิมพ์ปรับเปลี่ยนรูปแบบมาหลายครั้งจนกระทั่งปรากฏอย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นพัฒนาการทางด้านการพิมพ์ธนบัตรของแต่ละประเทศ
ธนบัตรที่พิมพ์ใช้ใน ปี 1928
ส่วนเหตุผลที่นำมาเขียนให้อ่านก็เพื่อว่า เมื่อท่านมาประเทศไอซ์แลนด์ ทั้งคนที่อยู่อาศัยและผู้มาเที่ยวต้องมีเงิน และสัมผัสเงินเป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งไม่ได้จำเพาะแต่ไอซ์แลนด์ทุกประเทศในโลกเรื่องเงินที่อยู่ในมือจึงเป็นสิ่งจำเป็นต้น ๆ ในการดำรงชีวิตอยู่ในประเทศนั้น ๆ จึงจะได้นำมาเล่าให้ฟังเป็นข้อมูลและเป็นประโยชน์สำหรับสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว และเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ไอซ์แลนด์ผ่านเงินเหรียญและธนบัตร
ใบแรกจะเป็นธนบัตรใบละ 5000 โครน ซึ่งเป็นธนบัตรที่มีมูลค่าสูงสุด ด้านหน้าจะมีรูปสตรี ชื่อว่านาง Ragnheiður Jónsdóttir (พ.ศ.2189-2258) ใส่หมวกปีกกว้าง ทรงสูง ถ้าเทียบก็คงเหมือนงอบของชาวชนบทในประเทศไทย แล้วมีผ้าโพกหัว การแต่งตัวเป็นลักษณะของหญิงชั้นสูงของไอซ์แลนด์ ถ้าเทียบสมัยกับไทยก็ต้องบอกว่านางเป็นคนร่วมสมัยกับสมเด็จพระนารายมหาราช (พ.ศ.2199-2231)และสมเด็จพระเพทราชา(พ.ศ.2231-2246) แห่งกรุงศรีอยุธยา นาง Ragnheiður Jónsdóttir ในประวัติบอกไว้ว่าเป็นภรรยาคนที่ 3 ของ Gísli Þorláksson พระในศาสนิกายคาทอลิก ส่วนผู้หญิงอีกสองนางคือ Gróa Þorleifsdóttir และ Ingibjörg Benediktsdóttir ภรรยาคนที่หนึ่งและคนที่สอง
(ภาพนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ)

นาง Ragnheiður Jónsdóttir มีความสำคัญในฐานะที่ริเริ่มนำความรู้ทางด้านการทอผ้ามาเผยแผ่ในประเทศไอซ์แลนด์ จนกลายเป็นผ้าทอที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไอซ์แลนด์ดังปัจจุบัน ผู้มาเที่ยวส่วนใหญ่จะเห็นผ้าทอดังกล่าวในฐานะเป็นของที่ระลึกในแบบไอซ์แลนด์ส่วนภาพที่ปรากฏในธนบัตร ภาพวาดต้นแบบนี้ จะอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ (Nation Museum-http://www.thjodminjasafn.is / ) ในกรุงเรกยาวิก ติดกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติไอซ์แลนด์(University of Iceland- http://www.hi.is/id/1002800 ) หอสมุดแห่งชาติด้วย (Nation Library)

ใบที่ 2 เป็นธนบัตร ใบละ 2 พัน เป็นรูปผู้ชายใส่หมวก ผสมแบล็กกราวน์ภาพวาดแนวลาวา มีชื่อว่า Jóhannes S. Kjarval (1885-1972) ซึ่งคนไอซ์แลนด์ออกเสียงเรียงนามของ Jóhannes Sveinsson Kjarval ซึ่งถือว่าเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงชาวไอซ์แลนด์ งานของ คราวาลถือว่าเป็นงานแนวสมจริง (Realistic) โดยแบล็กกราวด์ด้านหลังจะเป็นภาพแนวลาวาผลงานการวาดของเขาเอง ในภาพอีกด้านหนึ่งของธนบัตรจะเป็นภาพวาดผู้หญิงเปลือย ดอกไม้และลาวา ในภาพชุดที่ชื่อว่า Woman and Flowers ปัจจุบันภาพดังกล่าวตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ประจำตัวของคราวาล ในเมืองเรกยาวิก

The Sister of Stapi สีน้ำมัน 1948 Kjarval วาด The Thingvillir สีน้ำมัน 1957 Kjarval วาด
ใบที่ 3 ใบละ 1 พัน krónur ของไอซ์แลนด์เองโดยในภาพจะเป็นนักบวชในศาสนาคริสต์นิกายลูเธอรัน(Lutheran) ดำรงตำแหน่งเป็นบิซอฟ Skálholt ในภาพคือ Brynjólfur Sveinsson (พ.ศ.2148-2218), เกิดปีเดียวกับที่สมเด็จพระนเรศวร แห่งกรุงศรีอยุธยาสวรรคต (พ.ศ.2148) และมีชีวิตอยู่ต่อมาอีก 70 ปี สิ้นชีวิตหลังจากการครองราชย์ของสมเด็จพระนารายมหาราชได้ 15 ปี ใน พ.ศ.2218 โดย Brynjólfur Sveinsson ดำรงตำแหน่งเป็น Bishop of Skálholt ในช่วงที่ Skálholt ยังคงเป็นศูนย์กลางของคริสต์ศาสนา ในประเทศไอซ์แลนด์ ซึ่งท่านผู้นี้มีความสำคัญในฐานะที่เป็นพระที่นำความรู้ทางด้านวรรณคดีของนอร์สโบราณ(Old Nors) ถ้าจะอธิบายง่าย ๆ ก็คือเป็นผู้ที่นำความรู้ทางวรรณดีของชาวนอร์สมาสู่สังคมชาวไอซ์แลนด์ในอดีต ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาทางด้านวรรณคดีเสียก็คงไม่ผิด

ส่วนด้านหลังเป็นภาพของโบสถ์ ที่ชื่อว่า Brynjólfskirkja church (1650-1802) ตั้งอยู่ที่ สเก๊าโฮล์ท (Skálholt-
http://en.wikipedia.org/wiki/Sk%C3%A1lholt ) มีอายุราว ค.ศ.1650-1802 มีความสำคัญในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของศาสนาคริสต์ ภาพนี้ปัจจุบันได้เขียนโดย นักเขียนชื่อดังนั่นแหละ แต่ภาพต้นฉบับอยู่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ในกรุงเรกยาวิกแล ถ้าใครอยากไปดูที่พิพิธภัณฑ์ต้องเสียตังสัก 600 โครน เพื่อเข้าชมแหละครับ โดยสถานที่แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับการเผยแผ่ของศาสนาคริสต์เมื่อครั้งแรกเริ่มเข้าสู่ดินแดนประเทศไอซ์แลนด์ นับแต่การตั้งไอซ์แลนด์ได้ 56 ปี ดังนั้น Skálholt จึงถือว่าเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในไอซ์แลนด์ โดยสภาพของ Skálholt ซึ่งสภาพของโบสถ์คริสต์ในปัจจุบัน และยังถูกใช้เป็นที่ทำกิจกรรมทางศาสนาอยู่ นับแต่อดีตสถานที่แห่งได้ที่ได้รับการบูรณะ ซ่อมแซม และทำใหม่แทนที่เดิมมา 12 ครั้งและยังคงตั้งโดดเด่นนับแต่อดีตมาจนกระทั่งปัจจุบันกว่า 9 ศตวรรษ

Skálholt ที่บูรณะปรับปรุงมาถึง 12 ครั้ง ภาพใน ค.ศ.2007

ใบที่ ๔ ใบละ 500 โครน ซึ่งเป็นธนบัตรชนิดใบที่น่าจะมีค่าน้อยสุดในบรรดาตระกูลเงินของไอซ์แลนด์ในปัจจุบัน โดยในรูปเล่าถึงเรื่องของนาย Jón Sigurðsson, (1811-1879) น่าจะออกเสียงว่า นายโยน ซิกเกิร์ดสัน ซึ่งเป็นอดีตผู้นำในการเรียกร้องเอกราชจากเดนมาร์ก ในระหว่าง ซึ่งน่าจะถือว่าเป็นบิดาของเอกราชของไอซ์แลนด์ก็ว่า โดยความสำคัญยังสัมพันธ์ไปถึงว่าวันเกิดของนายโยน คือวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ.1811 ได้ถูกนำมาเป็นวันชาติ หรือวันเอกราชที่คนไอซ์แลนด์จะไปร่วมฉลอง ประดับธงทิว กินดื่มเที่ยว ถือว่าเป็นวันพักผ่อน แต่งกายด้วยชุดประจำชาติไปเดินฉุยฉายอวดกันตามท้องถนน รวมทั้งเป็นอดีตประธานาธิบดีของประเทศไอซ์แลนด์ด้วย

โรงเรียนมัธยมแห่งแรกของไอซ์แลนด์ ปัจจุบันเป็นทำการส่วนหนึ่งของรัฐบาล
ส่วนด้านหลังเป็นภาพโต๊ะทำงานของนายโยน ซึ่งในปัจจุบันโต๊ะและอุปกรณ์ทำงานของนายโยนถูกตั้งเป็นสัญลักษณ์ และระลึกถึงของชาวไอซ์แลนด์ ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ (National Museum-http://www.thjodminjasafn.is ) โดยภาพนี้ถูกจำลองแบบมาจากภาพลายปัก ซึ่งเป็นของส่วนตัวของนายโยนเอง และยังมีภาพเล็ก ๆ ที่อยู่ทางด้านล่างของธนบัตร ก็เป็นโรงเรียนแห่งแรกที่ตั้งขึ้น เป็นโรงเรียนประจำที่ตั้งอยู่ในเมืองหลวงในปัจจุบัน ซึ่งในอดีตก็เคยเป็นโรงเรียนที่นายโยนบิดาแห่งเอกราชของไอซ์แลนด์ก็เคยเรียนแห่งนี้ รวมทั้งเป็นสถานที่สำคัญของผู้บริหารระดับสูงของประเทศไอซ์แลนด์ ถ้าใครไปเที่ยวไอซ์แลนด์ก็จะสามารถไปชมอาคารนี้ได้ซึ่งตั้งอยู่ในกลางเมือง ซึ่งเป็นจุดที่ไม่ใกลจากโบสถ์สูงกลางเมือง อาคารรัฐสภา หอศิลป์แห่งชาติ รวมไปถึงพิพิธภัณฑ์ภาพถ่าย พิพิธภัณฑ์ทางธรณีวิทยา ซึ่งสามารถเดินถึงกัน รวมไปถึงจุดลงเรือชมปลาวาฬทางเรือ เป็นต้น

พิมพ์เมื่อ ค.ศ.1941

พิมพ์เมื่อ ค.ศ.1912

พิมพ์เมื่อ ค.ศ.1961

พิมพ์เมื่อ ค.ศ.1986

พิมพ์ใช้เมื่อ 1981

พิมพ์เมื่อ ค.ศ.1963

พิมพ์เมื่อ ค.ศ.1963