สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 21 ตุลาคม 2008 10:46:55 น.
ไอซ์แลนด์-IMF ใกล้บรรลุข้อตกลงกอบกู้ศก. เตรียมเดินหน้าขอความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น
รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมของไอซ์แลนด์เปิดเผยว่า รัฐบาลไอซ์แลนด์กำลังเดินหน้าทำข้อตกลงกระตุ้นระบบเศรษฐกิจกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อย่างใกล้ชิด ซึ่งรวมถึงการขอความช่วยเหลือทางการเงินจากประเทศในแถบสแกนดิเนเวียและญี่ปุ่น
IMF ปล่อยกู้ไอซ์แลนด์ 2.1 พันล้านดอลล์ ช่วยฟื้นฟูระบบธนาคารของประเทศ
ข่าวต่างประเทศ เสาร์ที่ 25 ต.ค. 2008
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) บรรลุข้อตกลงคร่าวๆ กับไอซ์แลนด์ ในการให้เงินกู้ 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นระยะเวลาสองปี เพื่อนำไปกอบกู้เสถียรภาพของประเทศซึ่งได้รับผลกระทบรุนแรงจากวิกฤตการเงินโลก โดยข้อตกลงดังกล่าวจะทำให้ไอซ์แลนด์ได้เงินกู้ก้อนแรกจำนวน 833 ล้านดอลลาร์สหรัฐในทันที
ทั้งนี้ ไอซ์แลนด์จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟ และกลุ่มประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย หลังจากที่ระบบธนาคารล่มสลายและสร้างแรงกดดันต่อตลาดปริวรรตเงินตรา
โดมินิก สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการกองทุนไอเอ็มเอฟ ระบุในแถลงการณ์ว่า "ไอซ์แลนด์ได้ผสมผสานแผนเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นให้แก่ระบบธนาคาร เพื่อรักษาเสถียรภาพของสกุลเงินโครน่าผ่านทางนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่แข็งแกร่ง และเพื่อช่วยให้ประเทศบรรลุเป้าหมายระยะกลางในการดำเนินนโยบายการคลัง หลังจากที่ระบบธนาคารของประเทศล่มสลายลง" สำนักข่าวเกียวโดรายงาน
ที่มาหนังสือเวปหนังสือพิมพ์
http://www.ryt9.com/news/2008-10-21/45497624/
.......................................................................................................
ไอซ์แลนด์เลือดไหลไม่หยุด รัฐสั่งปิดแบงก์แห่งที่ 3 แล้ว
10 ต.ค. 2008 - 07:19 : ข่าวธุรกิจทั่วไป Views: 21 สนง.กำกับดูแลการเงินไอซ์แลนด์ เตรียมยึดกิจการ "ธ.โคปทิง" แบงก์รายใหญ่ที่สุดของประเทศ และเป็นธนาคารรายที่ 3 ที่ถูกรัฐบาลเข้ายึดกิจการ
วันนี้ ( 9 ต.ค.) สำนักงานกำกับดูแลการเงินไอซ์แลนด์ เตรียมยึดกิจการแบงก์โคปทิง ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ที่สุดของไอซ์แลนด์ และยังเป็นธนาคารของไอซ์แลนด์รายที่ 3 แล้วที่ถูกยึดกิจการไปโดยรัฐบาล นับตั้งแต่ที่วิกฤตการเงินทวีความรุนแรงขึ้น โดยเงินฝากของลูกค้าภายในประเทศของธนาคารโคปทิงจะได้รับการรับประกันอย่างเต็มที่ และเป้าหมายของการเทคโอเวอร์ครั้งนี้ก็คือ การส่งเสริมระบบการธนาคารภายในประเทศให้สามารถดำเนินงานได้ตามปกติ
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า กิจการธนาคารของไอซ์แลนด์ต้องตกอยู่ภายใต้ภาระหนี้สินสูงถึง 12 เท่าของขนาดของเศรษฐกิจประเทศ สำนักงานกำกับดูแลการเงินของไอซ์แลนด์กฌเข้ามายึดกิจการของแบงค์ใหญ่อันดับ 2 และ 3 ของประเทศไปแล้ว คือ กลิตนีร์ แบงค์ และแลนด์แบงสกี
นายกรัฐมนตรีเกียร์ ฮาร์ด ของไอซ์แลนด์กล่าวว่า เขาอาจจะถูกบีบให้ขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) หลังจากที่ไม่สามารถขอเงินกู้จากรัฐบาลและธนาคารกลางในยุโรปได้
โดยเมื่อวานนี้ ธนาคารกลางไอซ์แลนด์ต้องล้มเลิกความพยายามยามในการปรับอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าธนาคารไม่มีอำนาจที่จะยุติค่าเงินโครนาที่ร่วงลงได้ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ไอซ์แลนด์ได้เริ่มเจรจากับรัสเซียเพื่อขอเงินกู้สูงถึง 4 พันล้านยูโร หรือ 5.46 พันล้านดอลลาร์
ที่มาหนังสือเวปหนังสือพิมพ์http://telewizmall.com/board/news/news5.php/2008/10/10/3-2428.html
......................................................................................................
ไอซ์แลนด์ยึดแบงก์โคปทิง--สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ยืนยันฐานะมั่นคง--ธ.กลางทั่วโลกลดดอกเบี้ย...หุ้นฟื้น 1%
. . .
ไอซแลนด์เข้ายึดแบงก์ใหญ่สุดของประเทศแล้วเพื่อปกป้องระบบธนาคาร
เมื่อวันที่ 9 ต.ค. ที่ผ่านมา สำนักงานกำกับดูแลการเงิน (Financial Supervisory Authority) ของไอซแลนด์(Iceland) ได้เข้ายึดธนาคารโคปทิง (Kaupthing) ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เพื่อปกป้องระบบธนาคาร และผู้ฝากเงิน โดย เงินฝากในประเทศที่ธนาคารแห่งนี้จะได้รับการค้ำประกันทั้งหมด และระบบธนาคารภายในประเทศจะสามารถดำเนินงานได้ตามปกติ
ธนาคารโคปทิง (Kaupthing) เปิดเผยว่า คณะกรรมการของทางธนาคารได้ลาออก ขณะที่ทางการไอซแลนด์เข้าควบคุมธนาคาร ซึ่งทำให้ระบบธนาคารของไอซแลนด์ตกอยู่ในความควบคุมของรัฐเกือบทั้งหมด โดยทางการได้เข้าควบคุมกิจการของธนาคารใหญ่อันดับ 2 และอันดับ 3 คือ แลนด์สแบงกี (Landsbanki) และ กลิตนีร์แบงก์ (Glitnir) ไว้แล้วก่อนหน้านี้ และโคปทิงเป็นธนาคารของไอซแลนด์รายที่ 3 ที่ถูกยึดกิจการโดยรัฐบาล นับตั้งแต่ที่วิกฤตการเงินทวีความรุนแรงขึ้น
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=loykratong&month=10-2008&date=09&group=4&gblog=121
..
อังกฤษอัดเงินอุ้มแบงก์เพิ่ม ไอซ์แลนด์ยังแย่เล็งซบIMF
14 ตุลาคม 2551 กองบรรณาธิการ
รัฐบาลแดนผู้ดีเดินหน้าอัดฉีดเงินก้อนใหม่อีก 3.7 หมื่นล้านปอนด์ (2.1 ล้านล้านบาท) อุ้มกิจการธนาคาร 3 แห่ง คือ 'รอยัลแบงก์ออฟสกอตแลนด์'
(อาร์บีเอส) 'ลอยด์ส ทีเอสบี' และ 'เอชบีโอเอส' ขณะที่ไอซ์แลนด์ส่งสัญญาณอาจเดินสู่อ้อมอกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) หลังเจอพิษซับไพรม์สหรัฐเล่นงานอย่างหนักจนประเทศใกล้ล้มละลาย
ภายใต้มาตรการใหม่ดังกล่าว รัฐบาลอังกฤษจะอัดฉีดเงินให้กับอาร์บีเอส 2 หมื่นล้านปอนด์ (1.18 ล้านล้านบาท) แลกกับการเข้าไปถือหุ้นราว 60% พร้อมกับการลงจากตำแหน่งผู้บริหารของเซอร์เฟรดกูดวิน ขณะที่ลอยด์สและเอชบีโอเอส สองธนาคารซึ่งอยู่ระหว่างการควบรวมกิจการกัน จะได้รับเงินช่วยเหลือ 1.7 หมื่นล้านปอนด์ (1 ล้านล้านบาท) แลกกับการให้รัฐเข้าไปถือหุ้น 40%
ด้านธนาคารบาร์เคลย์ส ปัดรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล ประกาศจะระดมทุนเพิ่มเองจำนวน 6.5 พันล้านปอนด์
กระทรวงการคลังอังกฤษยืนยันว่า รัฐจะไม่เข้าไปลงทุนแบบถาวรในธนาคารที่ให้การช่วยเหลือ พร้อมย้ำความเชื่อมั่นแก่ประชาชนว่ามาตรการนี้ไม่มีข้อกำหนดจ่ายเงินพิเศษแก่บรรดาผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินที่ประสบปัญหา
อีกด้าน ไอซ์แลนด์ส่งสัญญาณพร้อมเปิดทางให้ไอเอ็มเอฟเข้าช่วยเหลือเศรษฐกิจประเทศที่จวนเจียนจะพัง นายออสเซอร์ สการ์ฟิดินส์สัน รัฐมนตรีอุตสาหกรรมของไอซ์แลนด์ กล่าวว่า "หากเรายอมให้ไอเอ็มเอฟยื่นมือเข้าช่วย เราจะมีโอกาสฟื้นฟูตลาดเงินได้" คำกล่าวนี้สวนทางกับจุดยืนของรัฐบาลไอซ์แลนด์ก่อนหน้านี้ที่ปฏิเสธแนวความคิดขอพึ่งพาไอเอ็มเอฟ ขณะเดียวกัน โจฮันนา ซีกูร์การ์ดอตแตร์ รัฐมนตรีกิจการสังคม ออกมากดดันให้เดวิด ออตส์สัน ประธานธนาคารกลางลาออกจากตำแหน่งเพื่อเปิดทางให้มีการทบทวนนโยบายการเงินใหม่
สำหรับไอซ์แลนด์ ขณะนี้มาตรการอัดฉีดเงินเสริมสภาพคล่องในระบบนั้นใช้ไม่ได้อีกต่อไป เนื่องจากธนาคารต่างๆ ถูกยึดกลับมาเป็นของรัฐบาลเกือบหมดแล้ว ขณะที่ตลาดหุ้นรูดกราวจนต้องหยุดทำการเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทางการบอกว่าจะตัดสินใจในวันจันทร์ว่าจะเปิดทำการอีกครั้งหรือไม่
นายกรัฐมนตรีเกียร์ ฮาอาร์เด ของไอซ์แลนด์ เผยเมื่อวันศุกร์ว่าเขาจะยังไม่ตัดสินใจเรื่องการขอความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟ จนกว่าการประชุมประจำปีของไอเอ็มเอฟซึ่งมีรัฐมนตรีคลังจากทั่วโลกเข้าร่วมจะปิดฉากลงในวันจันทร์.
......................................................
ไอซ์แลนด์เป็นชาติแรกในยุโรปตะวันตก ที่ขอความช่วยเหลือทางจากเงินจาก IMF เพื่อนำไปกอบกูวิกฤตเศรษฐกิจ
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ บรรลุข้อตกลงให้ไอซ์แลนด์กู้เงินเพื่อนำไปกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจจำนวน 2,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 71,400 ล้านบาท
ข้อตกลงดังกล่าวจะทำให้ไอซ์แลนด์กลายเป็นประเทศจากยุโรปตะวันตกประเทศแรกที่ขอความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ นับตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา ทางการไอซ์แลนด์ระบุว่า จะสามารถได้เงินกู้ก้อนแรกจำนวน 833 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 28,300 ล้านบาทได้ทันที หากไอเอ็มเอฟรับรองแผนฟื้นฟูเสถียรภาพของประเทศ
ทั้งนี้ ไอซ์แลนด์ซึ่งเป็นประเทศเกาะทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก เกือบจะประสบภาวะล้มละลาย หลังจากรัฐบาลต้องเข้าอุ้มกิจการธนาคารยักษ์ใหญ่ 3 อันดับแรกของประเทศ เนื่องจากขาดสภาพคล่องอย่างหนัก อีกทั้งเงินโครนายังอ่อนค่าลงกว่าครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้ ไอซ์แลนด์ติดต่อขอกู้เงิน 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากรัฐบาลรัสเซีย แต่การเจรจาหยุดชะงักลงโดยไม่ได้ข้อสรุปใด ๆ
18:52 น.
ตลาดหลักทรัพย์ไอซ์แลนด์ระบุว่า ทางตลาดจะยังคงระงับการซื้อขายในวันนี้ อันเนื่องจาก "ภาวะตลาดที่ไม่ปกติ" แต่ตลาดจะเปิดทำการในวันพรุ่งนี้หลังจากปิดทำการนับตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ผ่านมาขณะที่เผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจอย่างหนัก
&P ชี้ปรากฏการณ์แบงก์ไอซ์แลนด์ล้ม ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อธุรกรรม CDO
สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) เปิดเผยว่า ปรากฏการณ์ล้มละลายของธนาคารหลายแห่งในไอซ์แลนด์นับเป็นความเคลื่อนไหวที่สร้างความเสี่ยงร้ายแรงสำหรับการทำธุรกรรมตราสารหนี้ที่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน (CDO) สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ธนาคารคอปธิง แลนด์, แลนด์สแบงกี และกลิทนีร์ มีจำนวนการทำธุรกรรม CDO จากทั่วโลกรวมกัน 376 แห่ง และอีก 297 แห่งเป็นของธนาคาร 2 ใน 3 แห่งนี้ ทั้งนี้ การตราสาร CDO ได้มีการขายผ่านธุรกรรมสวอปความเสี่ยงจากสินเชื่อที่จ่ายให้กับนักลงทุน หากเกิดกรณีผิดนัดชำระหนี้ และรัฐบาลจะเป็นฝ่ายชดใช้เงินดังกล่าวให้กับธนาคารในวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามที่ระบุไว้ในสัญญา S&P ระบุในแถลงการณ์ว่า เนื่องด้วยตราสาร CDO ส่วนใหญ่มักอิงกับสินทรัพย์ของเลห์แมน บราเธอร์ส โฮลดิ้ง อิงค์ และวอชิงตัน มูชวล อิงค์ที่ประสบภาวะล้มละลายไปแล้ว ดังนั้นเศรษฐกิจจึงมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากหนี้เสียครั้งนี้อย่างหนักหน่วง ขณะเดียวกัน เคบีซี กรุ๊ป เอ็นวี ผู้ให้บริการทางการเงินรายใหญ่ที่สุดในเบลเยี่ยมในแง่ของมูลค่าการตลาดได้ปรับลดมูลค่าทางบัญชีลง 1.6พันล้านยูโร (2.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)เมื่อวานนี้ โดยมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสกล่าวเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา บริษัทกำลังพิจารณาเงิน 2.88พันล้านยูโรที่ลงทุนในตราสารอนุพันธ์ 5 แห่งของผู้ปล่อยกู้ของเบลเยี่ยมที่อิงกับธนาคารไอซ์แลนด์ ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลไอซ์แลนด์ได้เข้าซื้อกิจการธนาคารรายใหญ่ที่สุดของประเทศ 3 แห่ง หลังจากที่ธนาคารเหล่านี้ไม่สามารถระดมทุนระยะสั้นเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่ประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐได้ และเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไอซ์แลนด์ดิ่งลงแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ถึง 77% ซึ่งเป็นวันแรกของการเปิดตลาดหลังจากที่ได้ระงับการซื้อขายหุ้นเป็นเวลา 3 วัน |
.......................................................................................................
ไอซ์แลนด์ล้มละลายแล้ว คือ มันยังงัยอ่ะ
คุยกะเพื่อน เพื่อนบอก
เฮ้ยมึง! ไอซ์แลนด์ล้มละลายแล้ว
คือ ฟังแล้ว เห้อ จริงดิ ฮ่ะ มันงัย
เหมือนมันจะมาวิกฤษแฮมเบอร์เกอร์
แล้วประชาชนในไอซ์แลนด์จะเป็นงัย แล้วจะเกิดอะไรขึ้น
แล้วมีผลกระทบต่อประเทศไทยมากน้อยเพียงใด
ภาคธุรกิจ นโยบายรัฐนี้ได้ทำอะไรบ้างยัง คือว่า
ว่างัยกันบ้างพี่ๆ เซียนๆในบอร์ด
คล้ายๆกับของไทยเมื่อปี 97 ล่ะครับ
กู้ foreign currency มาเยอะ พอเกิดภาวะสินเชื่อตึงตัว เงินตราต่างประเทศไหลออกนอกประเทศหมด ทำให้แบงก์ชาติของไอซ์แลนด์ไม่มีเงินตราต่างชาติมาแลกเปลี่ยนกลับ เงินโครนา(เงินตราของไอซ์แลนด์) ทำให้คนที่กู้มาตอนแรกไม่มีปัญญาจ่ายหนี้คืน เพราะเจ้าหนี้ต้องการเงินเป็น US dollar หรือไม่ก็ euro
อีกสักวันสองวันคงเห็นอีกหลายประเทศเจอปัญหาเดียวกับไอซ์แลนด์ IMF คงต้องเข้ามาอุ้มเหมือนตอนวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 97
ผลกระทบต่อประเทศไทย อาจจะเห็นได้ชัดประมาณปีหน้าครับ คงเริ่มมีการ lay off ภาคอุตสาหกรรม ปิดโรงงานกันบ้าง แต่ดูๆแล้วไทยน่าจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าประเทศEU หรือ US ครับ สิงคโปร์น่าจะโดนหนักกว่าเพื่อนในภูมิภาคเรา
นโยบายรัฐที่เหมาะสมตอนนี้ก็น่าจะเป็นเรื่องแก้ฎหมายหมิ่นสถาบันครับ