ความรู้เบื้องต้นการออกเสียงในภาษาไอซ์แลนด์
ตัวอักษรในภาษาไอซ์แลนด์ มีลักษณะที่ไม่แตกต่างไปจากตัวอักษรในภาษาอังกฤษ ยกเว้นตัวอักษรบางตัว ที่ใช้เขียนในภาษาอ่านสากลที่เขียนเพิ่มเข้ามา
1.ตัวอักษรใหม่ (คือภาษาอ่านสากล) ที่เพิ่มขึ้นมาคือ Þ Æ O Ð
ตัวอักษร Þ ออกเสียงคล้ายภาษาอังกฤษ คือ th ตัวอย่างเช่น thought
ตัวอักษร Ð (ð) ออกเสียงคล้ายภาษาอังกฤษ คือ th ตัวอย่างเช่น the
กฏบังคับที่ให้ใช้ Ð และ Þ นี้จะใช้เมื่อไหร่นั้นไม่ได้บังคับยากนัก แต่ทั้ง 2 ตัวเป็นภาษาอ่านสากล ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นการสะดกวในการช่วยอ่านออกเสียง และยังเพือ่เป็นการตัดปัญหาในการเขียนตัวอักษร 2 ตัว แต่มีเสียงแกต่างกันแต่เขียนเมหือนกันดังตัวอย่างข้างต้น)
ตัวอักษร Æ ออกเสียงเป็น i ในภาษาอังกฤษ เช่น hide หรือ light ซึ่งช่วยให้ง่ายในการอ่านยิ่งขึ้น
ตัวอักษร O จะออกเสียงเป็น i เช่นกันในบางครั้งในภาษาอังกฤษ เช่น bird และตัว oจะออเสียงเป็น o เช่นกันในบางครั้ง เช่น word วิธีออกเสียงตัวนี้ จะพูดโดยการแลบลิ้นไว้เอาไว้ข้างในปากห่อริมฝีปาก
2. ตัวอักษร C W Q ไม่ใช้ในภาษาไอซ์แลนด์
3. ลักษณะพิเศษของตัวอักษรในภาษาไอซ์แลนด์ นั้น คือ ตัวสระที่มีลูกน้ำอยู่เหนือตัวสระ(ó)นั้นไม่ใช่ให้เน้นเสียงหนักที่ตัวอักษรนั้น ๆ เพราะในภาษาไอซ์แลนด์นั้นจะไม่มีการเน้นเสียงที่ตัวอักษรหรือพยัญชนะ สระเลย แต่มีขึ้นเพื่อความสะดวกในอารอ่าน และใช้เพือแยกเสียงต่าง ๆของตัวสระ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ช่วยให้ง่ายขึ้นในการอ่านออกเสียงเป็นอย่างมาก
4.ภาษาไอซ์แลนด์นั้นจะเน้นเสียงตรงพยางค์แรกเสมอ ซึ่งเป็นข้อที่ต่างไปจากภาษาอังกฤษซึ่งภาษาไอซ์แลนด์นั้นจะอ่านออกเสียงทุกตัวอักษร คือออกเสียงคำทั้งคำ ซึ่งต่างจากภาษาอังกฤษที่ บางที่ถ้าไม่เน้นหรือเจาะจงสิ่งนั้น ๆ ก็จะแทบไม่ออกเสียงเลย
5. เสียงในภาษาไอซ์แลนด์นั้น บางครั้งอาจไม่เหมือนเสียงในภาษาอังกฤษ ถึงแม้ว่าตัวอักษรจะเมหือนกันก็ตาม แต่ในบางครังอาจจะคล้ายคลงกัน ดังจะเปรียบเทียบในบทต่อไป อย่างไรก็ตามการหมั่นฝึกฝนนั้นจะเป็นผลดี
6.ในภาษาไอซ์แลนด์ ก็มีทั้งเสียงสั้นและเสียงยาวเหมือนภาษาอังกฤษ และภาษาทั่ว ๆ ไป ถ้าเป็นในภาษาอังกฤษ ถ้าเป็นพยัญชนะเสียงยาว ตามธรรมดาทั่ว ๆ ไป ก็จะสะกดซ้ำกัน 2 ตัว แต่ในทางตรงกันข้ามในภาษาไอซ์แลนด์นั้น ถ้า มีพยัญชนะซ้ำกัน 2 ตัว ก็จะออกเสียงสั้น และในทางตรงกันข้ามเช่นกัน ถ้าเป็นพยัญชนะเดียวโดด ๆ ก็จะออกเสียงยาวกว่า แต่หมายถึงพยัญชนะตัวนั้น ๆ ต้องตามหลังสระ เช่น Komdu sæll และ Komdu sæa
การฝึกฝนพูดออกเสียงบ่อย ๆ ก็จะให้เกิดความเคยชินขึ้นมาเองและก็จะเกิดความเข้าใจขึ้นมาเอง
7. ตามธรรมชาติของภาษาไอซ์แลนด์นั้น อาจจะเรียกได้ว่าเป็นภาษาที่ยากภาษาหนึ่งทีเดียว เหตุเพราะว่าเป็นภาษาที่พูดด้วยลมหายใจ หรือพูดออกเสียงตัว H มาก นับว่าเป็นภาษาที่หนักภาษาหนึ่งทีเดียว เช่นคำว่า detta (หล่น) จะออกเสียงเหมือนเขียนว่า deddta ตามที่เราได้ยิน แต่จริง ๆ แล้วเค้าออกเสียงว่า dehhtta
8.ภาษาไอซ์แลนด์ทั่ว ๆ ไป จะพูดแบบเสียงไม่ค่อยราบเรียบนักโดยเฉพาะกับพวก เสียงสระแท้ต่าง ๆ (สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็คล้ายกับภาษาอิตาเลียน และภาษาสเปนในหลาย ๆ ด้าน) ถึงแมว่าเสียงไม่ค่อยราบเรียบนัก แต่พูดได้ต่อเนื่องกันไปได้ เมื่อประกอบขึ้นมาเป็นคำ และอาจจะพูดไม่เน้นตัวพยัญชนะบางตัวก็ได้ตามความต้องการของผู้พูด เช่น Hvað gerði hann ? จะพูดว่า Hva(ð) gerð(i) (h)ann ? ได้เช่นกัน คล้ายในภาษาฝรั่งเศส อย่างไรก็ตามภาษาทุก ๆ ภาษาก็มีรากฐานคล้ายคลึงกัน
หมายเหตุ ภาษาไอซ์แลนด์ที่นำเสนอนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้ข้อมูลความรู้ภาษาไอซ์แลนด์เป็นหลัก ถูกผิดประการใด ฝากผู้รู้(จริง) ให้คำแนะนำเพิ่มเติมผ่าน Email- watthaiiceland@hotmail.com