ชื่อโครงการ ออมทรัพย์-ออมบุญ
ดำเนินการโดย คณะกรรมการกองทุนชาวไทย ชาวพุทธอาคูเรยรี
กลุ่มเป้าหมาย ชาวพุทธ ชาวไทยอาคูเรยรี
วันเริ่มโครงการ 9 พฤศจิกายน 2551
ระยะเวลาดำเนินการ (โครงการต่อเนื่องปีต่อปี -ทุกปี)
หลักการเหตุผล
ในสภาพเศรษฐกิจที่มีความผันผวน ค่าเงินเปลี่ยนแปลง รายได้ลด รวมไปถึงค่าครองชีพที่สูงขึ้น พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่ส่งเสริมให้ชาวพุทธ ตอบรับต่อปรากฏการณ์การความเปลี่ยนแปลงที่เข้ากระทบในชีวิต เช่น หลักไตรลักษณ์ หลักอุเบกขา หรือหลักอื่นใดที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ดังนั้น ในสภาพของการเปลี่ยนแปลงนี้ การมัธยัสถ์ และการออม (พอเพียง-มัชฌิมา) จึงเป็นความจำเป็นที่จะตอบรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสภาพเศรษฐกิจดังกล่าว
วัดไทยไอซ์แลนด์ และคณะกรรมการกองทุนชาวไทย ชาวพุทธอาคูเรยรี จึงได้จัดทำโครงการ ออมทรัพย์-ออมบุญ เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมอย่างระบบ และเป็นการสร้างความสำคัญในการใช้จ่ายอย่างประหยัดในยุคเศรษฐกิจฝืดเคือง การออมจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ให้กับครอบครัว พร้อมทั้งเป็นการส่งเสริมลักษณะนิสัยแก่ลูกหลานในครอบครัว พ่อแม่ลูกหยอด คือส่งเสริมให้เกิดการออม และการมีส่วนร่วมในการออมทรัพย์ร่วมกันในครอบครัวด้วย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการออมในครอบครัวอย่างมีส่วนร่วม "พ่อแม่ลูกหยอด" ระหว่าง พ่อ แม่ ลูก หรือสมาชิกในครอบครัว โดยมุ่งหมายให้เป็นกิจกรรมในครอบครัว สัมพันธ์กันอย่างชาวพุทธ รวมทั้งส่งเสริมการประหยัด การออมในช่วงเศรษฐกิจผันผวน
2. เพื่อสร้างการตระหนักรู้ให้เกิดขึ้นในการบริหารเงินรายได้อย่างเป็นระบบ หมายถึง ปลูกฝังการออมให้กับครอบคนไทย และลูกหลานไทย
3. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดความสำนึกในการใช้จ่ายอย่างเห็นคุณค่าทรัพย์และประโยชน์ระยะยาวจากการใช้จ่ายอย่างเป็นประโยชน์
แนวทางในการดำเนินงาน
1. เขียนโครงการ ประชุมสรุป ถึงวิธีการและแนวทางในการดำเนินงาน เป้าหมาย และผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินการดังกล่าว
2. ประสานงานกับทางธนาคารโดยคุณอำพร สวัสดี ขอความอุปถัมภ์กระปุกออมสินจากธนาคาร Sparisjodurinn สาขา Grenivik (เหตุผลที่ต้องเป็นที่ Grenavik เพราะจากการประสาน ทางธนาคารยินดีให้กระปุกเราจำนวน 50 ใบ ซึ่งปกติขายอยู่ที่ใบละ 1500 โครน-แต่ทางธนาคารมอบให้ฟรีโดยไม่คิดมูลค่า) โดยทางรองผู้จัดการธนาคาร คุณ Jenny Toakimsdottir ได้ให้ความอนุเคราะห์เป็นธุระจัดหาได้กระปุกออมสินรูปทรงหมู จำนวน 50 ตัว/ใบ
3. ประชาสัมพันธ์ ประสานงานและรณรงค์ให้เข้าร่วมโครงการเป็นสมาชิกในโครงการออมทรัพย์-ออมบุญ เพื่อให้ทุกท่านมีส่วนร่วมในกิจกรรมของคณะผู้ดำเนินการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการ
4. ก่อนรับกระปุกออมสิน - ทุกครอบครัวต้องนำเงิน 500 โครน เพื่อให้กับทางผู้ดำเนินงานนำไปเปิดบัญชีกับธนาคาร Sparisjodurinn ให้กับท่านครอบครัวละ 1 บัญชี อาจเป็นชื่อของผู้ร่วมโครงการ หรือบุตร โดยมีเงื่อนไขผูกพันว่า เมื่อเปิดบัญชีให้แล้วต้องนำเงินเข้าฝากบัญชีทุกเดือน ๆ ละ ไม่น้อยกว่า 500 โครน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเงินออมในครอบครัว หรือเงินเพื่อการศึกษาของบุตรของท่าน
5. วันรับกระปุกออมสิน รับกระปุกเงินออมและบัญชีเงินฝากประจำครอบครัวท่าน จากคณะกรรมการดำเนินการ และสมาทานศีล-สัจจะ ตามแนวพุทธให้ตั้งใจในการออม เพื่อประโยชน์ต่อการรู้ใช้-รู้จ่ายในครอบครัว โดยมีเป้าหมายเพื่อการศึกษาบุตร หรืออื่นใดที่จะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกในครอบครัว
6. สมาทานลดอบายมุข โดยมุ่งหวังว่าจะนำเงินที่จะไปใช้จ่ายในทางอบายมุข เช่น การเล่นตู้ การพนันอื่นใด ค่าเหล้า บุหรี่ ให้เปลี่ยนมาหยอดกระปุก ออมทรัพย์-ออมบุญแทน
7. เมื่อครบ 1 ปี ให้คณะการการดำเนินการ ประสานกับผู้เข้าเป็นสมาชิก กลุ่มออมทรัพย์-ออมบุญ นำกระปุกมาเปิดแข่งขันกัน (เพื่อให้กิจกรรมสัมพันธ์ในชุมชนชาวไทย เช่น ที่วัดในพรรษาปีต่อไป เป็นต้น) เปิดเผยต่อสาธารณะ ใครได้มากสุดทางคณะกรรมการกองทุนจะมีรางวัลมอบให้ ผลจากได้จากการเปิดกระปุกมีเงื่อนไขว่ายอดรวมของแต่ละครอบครัว 5 % ให้นำเข้า กองทุนอาคูเรยรี (เช่น ยอดจากการหยอดได้ จำนวน 10,000 โครน 5 % เท่ากับ 500 มอบให้กองทุน เป็นต้น) ธนาคาร Sparisjodurinn สาขาอาคูเรยรี เลขบัญชี 1145-4444267 ส่วนที่เหลือให้นำเข้าเป็นเงินครอบครัวของท่าน นำฝากกับธนาคาร หรือใช้จ่ายตามความเหมาะสม เช่น ไปลงทุน นำฝากเข้าบัญชีธนาคารที่สมาชิกเปิดไว้กับธนาคาร หรือไปทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ในครอบครัว เป็นต้น
8. ระหว่างเข้าร่วมเป็นสมาชิก โครงการออมทรัพย์-ออมบุญ เกิดมีปัญหาขัดข้องให้สอบถามกับคณะกรรมการดำเนินงานได้ เพื่อทราบข้อมูล หรือแนวปฏิบัติที่จะเป็นประโยชน์ต่อท่านและสมาชิกในครอบครัว
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ชาวไทยมีระเบียบในการใช้เงินอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นส่วนเสริมในการดำเนินชีวิต
2. ชาวไทย มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการออมเงิน ซึ่งจะมีผลต่อการทุนการศึกษาของบุตรหลานในอนาคต
3. เห็นคุณค่า และตระหนักถึงวิธีการใช้เงินอย่างเป็นระบบ
4. สร้างความสามัคคีในการทำกิจกรรมร่วมกันในสาธารณะ (กรณีนำส่วนหนึ่งเข้ากองกลาง)
ผู้ร่วมโครงการ "ออมทรัพย์-ออมบุญ"