ReadyPlanet.com
dot
bulletชมภาพกิจกรรมต่างๆของวัดได้ที่นี้
dot
กิจกรรมทั่วไป
dot
bulletงานวันลอยกระทง
bulletนักพุตบอล ปี 2548
bulletดาวดวงเด่น
dot
หนังสือพิมพ์
dot
bulletไทยรัฐ
bulletเดลินิวส์
bulletมติชน
bulletผู้จัดการรายวัน
bulletคม-ชัด-ลึก
bulletกรุงเทพธุรกิจ
bulletบ้านเมือง
bulletสำนักข่าวไทย
bulletสยามรัฐ
bulletรวมข่าวดังทั่วไป
bullet00112
dot
ข่าวกีฬา
dot
bulletThailandsport
bulletSiamsport
dot
เวปวัดไทยในกลุ่มสหภาพยุโรป
dot
bulletวัดพุทธาราม สวีเดน
bulletวัดศรีนครินฯ สวิส
bulletวัดไทยเดนมาร์ก
bulletวัดพุทธวิหาร เบอร์ลิน
bulletฟังเสียงสวดมนต์
bulletอากาศประเทศไอซ์แลนด์
bulletรวมลิงค์วัดไทยในต่างประเทศ
bulletวัดไทยเนอร์เวย์
dot
เวปที่น่าสนใจ
dot
bulletวัดสระเกศ
bulletวัดพระพุทธบาทตากผ้า
bulletละคร หนัง เกมโชว์ อื่นฯ
bulletวัดไทยเดนมาร์ก
dot
เวปไซต์ท่องเที่ยวทั่วไป
dot
bulletbluelagoonไอซ์แลนด์
bullethttp://watthai.dk/
dot
ข่าวสารต่างๆๆ

dot
dot
เวปจองตั๋วของสายการบิน
dot
bulletสายการบินไอซ์แลนด์แอร์
bulletสายการบินภายในประเทศของไอซ์แลนด์
bulletสายการบินเอํกเพจ
bulletตรวจเวลาเที่ยวบินไอซ์แลดน์
bulletkeflavikairport.comเวลาเที่ยวบิน
bulletเวปตั่วเครื่องบินทั่วโลก
dot
ร้านอาหารไทย/Thai Food-Restaurant in Iceland
dot
bulletร้านครัวไทย - Krua Thai
bulletร้านครัวสยาม - Krua Siam
bulletร้านไทยช็อป-Thai Shop
bulletร้านสวัสดี - Sawatdee
bulletร้าน Thailand Take Away
bulletร้านไทยกริล - Thai Gril
bulletร้านแม่ย่า-Mea Ya
bulletร้านThaimattofan
dot
จองที่พักโรงแรมไทยและต่างประเทศ
dot
bulletจองที่พักโรงแรมทั่วโลก
bulletจองโรงแรมในประเทศไอซ์แลนด์
bulletจองตั๋วเครื่องบินทั่วโลก
bulletเกสท์เฮาส์ หอพัก อพาร์ทเม้นต์ โดยเจ้าของคนไทย
bulletดูหนังฟังเพลง
dot
ดูหนังฟังเพลง
dot
bulletดูหนัง ดูละคร ฟังเพลง ที่นี่ที่เดียว doothaitv.net
bulletวิทยุออนไลน์ฟ้าเดียวกัน




งานสงกรานต์ 2548 article
สิ่งสำคัญของงานสงกรานต์คือประเพณีที่มีความหมายและการปฏิบัติในทางที่ดีงาม (ภาพ ททท.)
       และแล้วห้วงเวลาแห่งความสดชื่นชุ่มฉ่ำและความสนุกสนานในเทศกาลสงกรานต์ ก็เวียนมาถึงกันอีกครั้ง แม้ว่าปีนี้จะมีภาวะฝนแล้งน้ำแห้งในหลายพื้นที่ แต่ก็เชื่อว่าความสุขสนุกทั้งหลายจะไม่มีเหือดแห้งหายไปจากคนไทยแม้แต่น้อยนิด
       
       ที่ “ผู้จัดการท่องเที่ยว” มีความเชื่อมั่นว่า ไม่ว่าปีนี้หรือปีไหนๆ เทศกาลสงกรานต์ก็ยังคงความครึกครื้นและอบอวลด้วยความสุขเสมอ ก็เพราะประเพณีสงกรานต์เป็นสิ่งที่ฝังลึกอยู่ในความรู้สึกและจิตใจของคนไทยมาช้านาน เกี่ยวกับการถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย วันนี้จึงเป็นวันฤกษ์ดีที่จะได้ทำสิ่งดีๆอันเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
       
       ซึ่งแต่ละภูมิภาคก็จะมีเอกลักษณ์ของงานสงกรานต์และการเรียกชื่อวันที่แตกต่างกันออกไป ตามคติความเชื่อและวิถีชีวิตวัฒนธรรมที่ต่างกันออกไป “ผู้จัดการท่องเที่ยว” จึงถือโอกาสนี้ ตามไปย้อนรอยสงกรานต์ เพื่อดูว่าแต่ละท้องถิ่นนั้นมีอะไรน่าสนใจบ้าง
       

ห้วงเวลาแห่งความสุขสดชื่นชุ่มฉ่ำและความสนุกสนานกำลังจะเกิดขึ้นในทุกพื้นที่ของเมืองไทย (ภาพ ททท.)
       สงกรานต์ล้านนา “ประเพณีปี๋ใหม่เมือง”
       
       เมื่อถึงประเพณีสงกรานต์หรือประเพณีปี๋ใหม่เมืองที่ชาวเหนือเมืองล้านนาเรียกกันนั้น พวกเขาจะหยุดการทำงานเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ทั้งทางศาสนา พิธีกรรม และการละเล่น ยาวนานถึง 5 วันเป็นอย่างน้อย
       
       โดยวันแรกคือ วันที่ 13 เมษายน เป็น “วันสังขารล่อง” ถือเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ ซึ่งแต่ละบ้านจะปัดกวาดทำความสะอาดรวมถึงการชำระล้างสิ่งสกปรกต่างๆให้หมดไป พร้อมจะต้อนรับสิ่งที่เป็นมงคลเข้ามาในชีวิต มีการสรงน้ำพระพุทธรูป และผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะเรียกลูกหลานมาอธิษฐานกล่าวคำไล่ให้สิ่งไม่ดีตกไปกับสงกรานต์ แล้วใช้น้ำขมิ้นส้มป่อยลูบศีรษะตัวเองและลูกหลาน
       
       ในวันถัดมาคือ “วันเนา หรือ วันเน่า ” โดยวันนี้จะทำแต่สิ่งที่เป็นมงคล ไม่มีการด่าทอทะเลาะวิวาท ไม่อย่างนั้นจะถือว่าปากคนนั้นได้เน่าและจะมีแต่สิ่งอัปมงคลไปตลอดทั้งปี ในช่วงเช้าจะจัดเตรียมซื้อของกินของใช้เครื่องไทยทานต่างๆ ส่วนช่วงบ่ายก็จะไปขนทรายเข้าวัด ถือว่าเป็นการนำทรายมาทดแทนส่วนที่ติดเท้าเราออกจากวัดไป ซึ่งเจดีย์ทรายนั้นก็จะถูกประดับตกแต่งด้วยตุง (ธง) สีสันสดใส
       
       ปัจจุบันหลายๆแห่งจะมีการประกวดเจดีย์ทรายทั้งประเภทสวยงาม และประเภทแข่งกันว่าบ้านไหนจะได้ทรายมากที่สุดสูงที่สุด โดยทรายที่ได้ทางวัดก็ได้นำไปใช้ในการก่อสร้างสิ่งต่างๆในวัด ถือเป็นกุศโลบายที่ดีอย่างหนึ่ง
       

การสรงน้ำพระพุทธรูปในวันสงกรานต์ ก็เพื่อแสดงความเคารพบูชาและเพื่อความเป็นสิริมงคล
       ส่วนวันที่สาม เรียกว่า “วันพญาวัน หรือวันเถลิงศก” ชาวบ้านจะนำสำรับอาหารไปทำบุญตักบาตรที่วัด อุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ บางคนจะนำสำรับไปมอบให้ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ เรียกว่า “ตานขันข้าว” ตอนบ่ายก็จะเริ่มการดำหัว คือการ “สุมาคารวะ” ที่ลุกหลานจะขอขมาลาโทษที่เคยกระทำต่อญาติผู้ใหญ่ ถือว่าเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีของผู้น้อยอันมีต่อผู้ใหญ่
       
       วันที่สี่เป็น “วันปากปี” ถือเป็นการเริ่มต้นของปีใหม่ มีการดำหัวตามวัดต่างๆ ทั้งที่อยู่ใกล้เคียงและห่างไกล ถือเป็นการทำพิธีคารวะเจ้าอาวาสวัดที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน วันที่ห้าคือ “วันปากเดือน” ถือเป็นวันเริ่มต้นของเดือนใหม่ จะมีการส่งเคราะห์ต่างๆ ตามแบบที่นิยมกันมาแต่โบราณ
       
       ซึ่งประเพณีปี๋ใหม่เมืองนี้ จะมีการเล่นสาดน้ำกันอย่างสนุกสนาน ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน กระทั่งถึงวันที่ 15 เมษายน หรือบางพื้นที่ก็อาจจะฉลองกันยาวไปมากกว่านั้น เรียกว่าฉลองกันให้ชุ่มโชกชื่นฉ่ำกันให้หายร้อนไปเลย
       

เจดีย์ทรายของชาวล้านนา สีสันสะดุดตาด้วยตุง (ธง) สีสดใส
       “สงกรานต์ประเพณี” ที่ภาคกลาง
       
       สงกรานต์ประเพณีที่ภาคกลางนั้น จะมีการทำบุญใหญ่ประจำปี 3 วันคือ วันที่ 13 เมษายน ซึ่งเป็น “วันมหาสงกรานต์” วันที่ 14 เมษายน เป็น “วันกลาง หรือ วันเนา” ที่แปลว่าอยู่ ส่วนวันที่ 15 เมษายน เรียกว่า “วันเถลิงศก” หมายถึงวันขึ้นศักราชใหม่
       
       ในสมัยอดีต ทางภาคกลางจะมีประเพณีอันเนื่องด้วยสงกรานต์อย่างหนึ่งคือ ห้ามตักน้ำตำข้าว เก็บผักหักฟืน จะต้องเตรียมหาสำรองเอาไว้ให้พร้อมก่อนถึงวันสงกรานต์ จะได้ไม่ต้องเป็นกังวล ซึ่งก็คงเหมือนปัจจุบันที่ว่าช่วงสงกรานต์จะไม่มีการทำงานใดๆให้เป็นภาระ เพื่อที่จะได้ต้อนรับปีใหม่ด้วยความแจ่มใสเบิกบาน
       
       โดยประเพณีสงกรานต์ในภาคกลางตามแบบประเพณี ก็จะมีการประกอบพิธีทางศาสนา มีการทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา จัดจตุปัจจัยถวายพระ การบังสุกุลกระดูกบรรพบุรุษ การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ การสรงน้ำพระพุทธรูป สรงน้ำพระสงฆ์ การขนทรายเข้าวัด การก่อพระเจดีย์ทราย
       
       และในวันสงกรานต์ยังถือเป็นวันสำคัญที่ผู้น้อยจะได้แสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ใหญ่ โดยจะมีการรดน้ำดำหัวขอพรจากพ่อแม่ ผู้สูงอายุ หรือญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ
       

เอกลักษณ์ของประเพณีสงกรานต์ภาคอีสานต้องมีพิธีบายศรีสู่ขวัญให้กับลูกหลานญาติพี่น้อง
       ตรุษสงกรานต์ภาคอีสาน “งานบุญเดือนห้า”
       
       สำหรับคนอีสาน เทศกาลสงกรานต์ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญแห่งการรวมญาติ เพราะลูกหลานญาติพี่น้องที่ไปทำงานต่างถิ่นจะได้เดินทางกลับมาพบเจอกัน ในห้วงเวลานี้พ่อแม่คนเฒ่าคนแก่จึงได้จัดให้มีพิธีบายศรีสู่ขวัญผูกมัดข้อมือด้วยด้ายสีขาวและทำพิธีเรียกรับขวัญลูกหลานที่กลับมาเยี่ยมบ้าน
       
       นอกจากนี้ประเพณีสงกรานต์ของชาวอีสานยังเกี่ยวข้องกับจรรยาปฏิบัติทางสังคมที่เรียกว่า “ฮีตสิบสอง” ซึ่งมักเป็นงานบุญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา โดยประเพณีสงกรานต์ที่อีสานจะเรียก “บุญสรงน้ำ” หรือ “ตรุษสงกรานต์”
       

       โดยที่ภาคอีสานนั้น บางแห่งก็จะทำบุญเป็นสองระยะ ระยะแรกทำบุญตักบาตรกลางลานในวันตรุษ ระยะหลังทำบุญตักบาตรที่ลานบ้านในวันสงกรานต์
       
       คำว่า ตรุษ คือ สิ้น ส่วนคำว่า สงกรานต์ คือ การเคลื่อนย้าย โดยสงกรานต์ในภาคอีสานนั้นหมายถึง วันที่พระอาทิตย์ เคลื่อนย้ายจากฤดูหนาว ก้าวไปสู่ฤดูร้อน ในระยะนี้จะเรียกว่า ตรุษสงกรานต์ ซึ่งกำหนดเอาวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 จึงเรียกกันว่า “บุญเดือนห้า”
       

       พิธีบุญเดือนห้านั้นจะเริ่มเมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลาบ่าย 3 โมง พระสงฆ์จะตีกลองโฮม (รวม) โดยมีญาติโยมจัดน้ำอบ น้ำหอม และหาบเอามารวมกันที่ศาลาโรงธรรม แล้วพระสงฆ์ก็จะทำความสะอาดพระพุทธรูปและ เอามารวมกันที่ศาลาโรงธรรม โดยมีญาติโยมมาทำพิธีสู่ขวัญ สรงน้ำพระพุทธรูปและสรงน้ำพระสงฆ์ รุ่งขึ้นก็จะทำบุญเลี้ยงพระ ส่วนวันต่อไปเมื่อได้เวลาบ่าย 3 โมง พระสงฆ์ก็จะตีกลองเตือนญาติโยมให้มาสรงน้ำพระพุทธรูป โดยจะทำอย่างนี้ไปจนถึงวันเพ็ญเดือนหก รวมเวลาหนึ่งเดือนเต็ม
       
       นอกจากนี้ชาวอีสานก็ยังมีการสรงน้ำผู้หลักผู้ใหญ่ เพื่อให้ผู้หลักผู้ใหญ่ได้อายุมั่นขวัญยืน การสรงเครื่องค้ำของคูณ ซึ่งถือเป็นเครื่องที่จะทำให้บ้านเรือนนั้นอุดมสมบูรณ์
       
       และเนื่องจากว่าชาวอีสานเป็นคนชอบสนุกสนานเฮฮา ดังนั้นวันสงกรานต์ นอกจากจะเป็นงานบุญที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนานั้นแล้ว บรรยากาศของงานประเพณีสงกรานต์ยังเต็มไปด้วยความรื่นเริงและมีชีวิตชีวาทั้งจากการเล่นสาดน้ำและกิจกรรมต่างๆ
       

พิธีบิญจา หรือการอาบน้ำคนแก่ของชาวภาคใต้ ที่เปลี่ยนมาเป็นการรดน้ำที่มือ เพื่อแสดงความเคารพนับถือ
       สงกรานต์ภาคใต้ “วันส่งเจ้าเมืองเก่า-รับเจ้าเมืองใหม่”
       
       ชาวใต้โดยเฉพาะที่ จ.นครศรีธรรมราช จะมีความเชื่อว่าเทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งการผลัดเปลี่ยนเทวดาผู้รักษาดวงชะตาบ้านเมือง วันที่ 13 เมษายน หรือวันมหาสงกรานต์นี้ ชาวใต้จึงเรียกว่า “วันส่งเจ้าเมืองเก่า” โดยในวันนี้จะมีการชำระล้างทำความสะอาดร่างกายและบ้านเรือน บางคนก็จะถือโอกาสนี้ทำพิธีสะเดาะเคราะห์หรือลอยแพสิ่งไม่ดีต่างๆ ออกไป
       
       รุ่งขึ้นจะถือเป็น “วันเนา” หรือที่ชาวใต้เรียกว่า “วันว่าง” ชาวใต้จะงดการทำพิธีกรรมต่างๆ นอกจากการไปทำบุญตักบาตรที่วัด และสรงน้ำพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เพราะถือว่าวันนี้ไม่มีเทวดาคุ้มครองรักษาอยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างจึงอยู่ในสภาพที่ว่างเปล่า
       
       สำหรับวันสุดท้ายของประเพณีสงกรานต์ ชาวใต้จะเรียกว่า “วันรับเจ้าเมืองใหม่” เพราะเชื่อกันว่าวันนี้เทวดาองค์ใหม่ได้ย้ายไปประจำดูแลรักษาบ้านเมือง ซึ่งชาวบ้านก็จะเตรียมตัวต้อนรับเทวดาองค์ใหม่ด้วยการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าแลเครื่องตกแต่งใหม่ๆ อย่างสวยงาม จากนั้นก็จะนำภัตตาหารไปทำบุญที่วัดกันตั้งแต่เช้าตรู่ พร้อมกับร่วมกันทำขวัญข้าว รดน้ำผู้หลักผู้ใหญ่ และพระสงฆ์ที่ยังตกค้างไม่ได้ไปรดในวันว่าง
       
       โดยในวันนี้หากตระกูลใดมีญาติพี่น้องมาก ก็จะทำพิธีรดน้ำผู้ใหญ่ด้วยการประกอบพิธีใหญ่ ที่เรียกว่า “ขึ้นเบญจา” ที่ต่อมาเพี้ยนเป็น “ขึ้นบิญจา”
       

       “พิธีบิญจา” ก็คือประเพณีอาบน้ำคนแก่ ซึ่งเป็นวิธีการแสดงออกถึงความเคารพนับถือพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ และผู้มีพระคุณ โดยลูกหลานจะทำพิธีขอขมา จากนั้นก็จะเป็นการตักน้ำมารดอาบให้คนแก่ แต่เดี๋ยวนี้ได้เปลี่ยนมาเป็นรดน้ำที่มือแทน เพราะขืนอาบน้ำให้คนแก่จริงๆ นานนับชั่วโมง คนเฒ่าคนแก่ก็มีสิทธิ์ไม่สบายได้ง่ายๆ
       
       เมื่อลูกหลานเข้าแถวตักน้ำที่เตรียมไว้มารดและมอบเครื่องนุ่งห่มเครื่องใช้ให้กับคนแก่พร้อมกับขอพร คนแก่ก็จะให้พรลูกหลาน เมื่อเสร็จพิธีลูกหลานจะนำเสื้อผ้าชุดใหม่มาเปลี่ยนให้คนแก่ ทาแป้ง หวีผม แต่งตัวให้ เป็นอันเสร็จพิธีการอาบน้ำ
       
       ******
       จากการตระเวนตามรอยประเพณีสงกรานต์ในแต่ละภาคของไทยนั้น ก็จะเห็นทั้งความเหมือนและความต่างของความเชื่อ พิธีกรรม และรูปแบบการจัดงาน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นภาคไหนๆ ของเมืองไทย ก็เป็นงานประเพณีที่ มีความหมายและการปฏิบัติในทางที่ดีงาม โดยมีผลของการท่องเที่ยวมาผสมผสาน ซึ่งสงกรานต์ปีนี้ก็ขอให้มิตรรักนักอ่านสนุกสุขใจกันถ้วนหน้า
       
       “สวัสดี ปีใหม่ไทย”
ภาพข่าวจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ



วัดไทยไอซ์แลนด์

ทำบุญส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2555-2556
ระเบียบ กองทุน กรรมธรรม์
งานทำบุญสงกรานต์ วัดไทยไอซ์แลนด์
เชิญเทียวงานสงกรานต์
กงสุลสัญจร
งานครอบครัวกลางแจ้งสมาคมไทยไอซ์แลนด์
งานผ้าป่าสามัคคี อาคูเรย์รี่
งาน กศน
งานประเพณีสงกรานต์ประเทศไอซ์แลนด์ article
วันเด็กประเทศไอซ์แลนด์ article
เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไอซ์แลนด์ article
ลอยกระทง 2552 article
ผ้าป่าเดนมาร์ก -ไอซ์แลนด์ article
งานกลางเต้นท์ Gindavík article
งานรวมน้ำใจภาคตะวันตก ไอซ์แลนด์ article
กงสุญสัญจรครั้งที่ 7 article
แมวน้ำที่ธานน้ำแข็งไอซ์แลนด์
สมาคมไทยไอซ์แลนด์จัดงานวันเด็ก
ยกย่อง 'กัปตัน' เป็นฮีโร่ article
วันเด็กแห่งชาติ article
สโน 2008 article
สนามบิน "อู่ตะเภา" article
งานประเพณีลอยกระทง article
พิธีวางดอกไม้จันทน์ article
วัดไทยไอซ์แลนด์ article
ไอซ์แลนด์ไกล้ล้มละลาย
Reykjavik - เชิญเที่ยวงานลอยกระทง วันเสาร์ ที่ 29 พฤศจิกายน 2551 ที่ Rimaskoli
งานบวชชีพราหม์
16-17 สิงหาคม 2008 ปฏิบัติธรรม-บวชชีพราหมณ์ (Ordination Ceremony and Practice Basic Meditation on 16-17 ágúst 08))
ทำบุญเข้าพรรษา - วันอาสาฬหบูชา 19 july 08
บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนครั้งที่ 3 article
เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลอง 80 พระพรรษา article
สามเณรภาคฤดูร้อนวัดไทยไอซ์แลนด์ article
Midnight Sun article
ไอซ์แลนด์มีสโนตกทั้งอาทิตย์ article
คณะนักเรียนKopavog เข้าฟังบรรยายพุทธศาสนา article
งานฟุตบอลประเพณี 2549 article
วันแม่แห่งชาติ วัดไทยไอซ์แลนด์ article
60 ปี article
Miss World Final 2005 article
LONG LIVE THE KING article
ทีมฟุตบอลไทยไอซ์แลนด์ article
กงสุลสัญจรครั้งที่ 3 article
Jokulsarlon ธารน้ำแข็ง article
น้ำแข็งจากขั่วโลกเหนือ article
ปิดการเรียนของศูนย์ article
งานกงสุลสัญจร article
วิชาชีพแค่ชาวไทย article
ทีมฟุตบอลไทยไอซ์แลนด์ article
มุทิตาสักการะแด่พระครูใหม่ article
5 ธันวามหาราช article
ล่องเรือ article
รับลมหนาวกับ 5 ภู-ดอยยอดนิยม article
ไอซ์แลนด์วันนี้ article
กงสุลสัญจรครั้งที่ 2 ณ ประเทศไอซ์แลนด์ article
ชมภาพต่อ article
ภาพแข่งขันฟุตบอลประเพณี ปี 2547 article
มยุริน มาแปลก อยากไปนิพพาน article
แผนทีประเทศไอซ์แลนด์ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.